วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 16

บันทึกครั้งที่  16
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  27  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



ความรู้ที่ได้รับ

                วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย อาจารย์ให้สอบร้องเพลง โดยอาจารย์จะสุ่มเลขที่แล้วให้ออกมาจับฉลากว่าจะได้เพลงอะไรแล้วก็ให้ร้องเพลงที่ตนเองจับได้
                ซึ่งดิฉันจ้ำได้เพลง  จ้ำจี้ดอกไม้  ดิฉันคิดว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่ร้องยากเพราะ มันเร็วๆ และอีกอย่างเมื่อดิฉันร้องไปก็ร้องผิดทำนอง การสอบครั้งนี้เลยได้ 4 คะแนน เพราะ จำเนื้อร้องไม่ได้ด้วย

                และวันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของการเรียนค่ะก่อนจะปิดคอร์สอาจารย์ก็ได้ให้พรกับนักศึกษาทุกคนค่ะ
          
                ขอขอบพระคุณอาจาย์มากๆ น่ะค่ะที่ให้ความรู้พวกหนูอย่างเต็มที่เต็ความสามารถ ดิฉันก็จะนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ให้สูงสุดในการเรียนการสอนในอนาคต และจะเก็บเอาคำสั่งสอนของอาจารย์นั้นไปเป็นทางปฏิบัติในทางที่ดีที่สุด ค่ะ รักอาจารย์น่ะค่ะ ขอบคุนค่ะ ^^


บันทึกครั้ง 15

บันทึกครั้งที่  15
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  23  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

ความรู้ที่ได้รับ

                **วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)ซึ่งในเนื้อหาจะประกอบไปด้วย ดังนี้

แผน IEP  ( เริ่มใช้เปิดเทอม ถึง ปิดเทอมสอง คือ 1 ปีการศึกษา )
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP  ( ต้องรู้จักเด็ก รู้ว่าเด็กชอบอะไร,อาการเด็ก,ต้องรู้ว่าเด็กมีภูมิหลังอย่างไร , ปัจจุบ้นเด็กมีใครที่พาไปรักษา )
คัดแยกเด็กพิเศษ
ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น ( ข้อมูลที่ครูประจำชั้นเป็นคนเขียน )
ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
 ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
 เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
 ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

 1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่าง ๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- สัมภาษณ์จากพ่อแม่
- บันทึกพฤติกรรมตลอดเทอม

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
          •ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่น ๆ ได้
         •ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุดหมายหลัก และเป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2 - 3 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์ , สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน และพฤติกรรมของน้องนั้นต้องดีขนาดไหน )
- น้องริวสามารถจับช้อนได้
- น้องแพนสามารถใส่ร้องเท้าได้

3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จ ครูนำไปใช้โดยใช้ในระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
**ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กความสามารถ โดยคำนึงถึง
                1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
                2. ตัวช้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
                3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


                ***เมื่อเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เเขียนแผน IEP เป็นงานกลุ่มค่ะ และเมื่อเขียนแผนกลุ่มเสร็จ  อาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้ไปเขียนแผน IEP เป็นงานเดี่ยวด้วยอีก 1ชุด

 บรรยากาศในห้องเรียน

เอกสารประกอบการเรียน และ เอกสารการเขียนแผน IEP



การประเมินผล
            เพื่อน  : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และช่วยกันเขียนแผน IEP กันเป็นอย่างดี เพื่อนในห้องอาจจะมีคุยบ้างนิดหน่อยค่ะแต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนค่ะ

            ตนเอง  :  วันนี้มาสายนิดหน่อย เวลาเรียนก็นั่งฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ  อาจจะหันไปคุยบ้างกับเพื่อน เล่นโทรศัพท์บ้างบางที แต่เมื่ออาจารย์ให้ทำงานกลุ่มก็ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างเต็มที ช่วยออกความคิดเห็น เขียนคำตอบบ้างค่ะ

            อาจารย์  :  วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน คอยตักเตือนเด็กๆเวลาคุยกันเสียงดัง อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสค่ะ



บันทึกครั้ง 14

บันทึกครั้งที่  14
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  16  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม

อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องจาก วันสงการนต์ ค่ะ



บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกครั้งที่  13
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  9  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น


ก่อนที่จะมีการเรียนการสอน

                ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของอาทิตย์ที่ผ่านมาที่ละข้อมีการแลกเปลี่ยนข้อมมูลคำตอบของเพื่อนๆว่ามีใครตอบแบบไหนบ้างและอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการย่อยงานของเด็กพิเศษอย่างละเอียดในข้อสอบที่ได้ทำไปทำให้ทราบว่าเราพลาดไปหลายจุดเนื่องจากจุดที่พลาดนั้นเป็นจุดเล็กๆสำหรับเราเราจึงมองข้าม แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้นในทุกๆเรื่องสำคัญกับตัวเด็กมากคนเป็นครูจึงต้องดูแลเอาใจใส่เด็กในทุกๆอิริยาบท เรื่องไหนที่ต้องทำการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนครูก็ตวรจะคิดไตร่ตรองให้ดี

                นอกจากนี้อาจารย์ยังได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ไปฝึกร้องเพลงมา เพื่อสอบเก็บคะแนนในสับดาห์ถัดไปค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
 บรรยากาศในห้องเรียน


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้”  ( ช่วงความสนใจ อย่างเก่งก็ 1 นาที ) เด็กปกติ ก็ 10 นาทีโดยประมาณ
         - ถ้าเล่านิทานให้เด็พิเศษฟัง ควรให้เด็กนั้นได้มีส่วนร่วมในการเล่า เล่าให้น่าสนใจ และควรมีความยาวประมาน 5-6 หน้า แล้วเราค่อยๆ เพิ่มเติมระยะเวลาเรื่อย ๆ
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
จากการสนทนา
เมื่อเช้าหนูทานอะไร
แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู เพื่อน
เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การเปรียบเทียบ การจำแนก
การสังเกต
การวิเคราะห์

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก

อาจารย์มีตัวอย่างแบบกรรไกร ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมาให้ดู



การประเมินผล
          ตนเอง : วันนี้เข้าเรียนสายไป 30 นาที แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน แต่อาจจะมีคุยบ้างกับเพื่อนบ้างเวลา 
          เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องมีคุยบ้างนิดหน่อยค่ะแต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนค่ะ
          อาจารย์ : วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน คอยตักเตือนเด็กๆเวลาคุยกันเสียงดัง อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสค่ะ

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่  12
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  2  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



    *** หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย


บันทึกครั้งที่ 11

บันทึกครั้งที่  11
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 26  มีนาคม 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น




                หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่เป็นการสอบเก็บคะแนนภายในชั้นเรียน สอบข้อเขียนทั้งหมด 5 ข้อ 10 คะแนน  เรื่องของพฤติกรรมเด็กในแบบต่างๆ เราจะมีวิธีแก้ไขหรือดูแลอย่างไรเป็นต้น


                                                             ตั้งใจทำข้อสอบกันนะทุกคน  สู้ๆ ค่ะ
ประเมิณข้อสอบครั้งนี้
            - ข้อสอบเป็นการวัดความรู้เรื่องที่เราได้เรียนมานั้น ว่าเราจะสามารถนำมาใช้ได้ไหมในชีวิตเราต่อไปข้างหน้า เมื่อเราเป็นครูและเราต้องเจอเหตุการณ์หรือสถานการณ์แบบนั้น เราจะสามาถแก้ไขและทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร ..?