วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกครั้งที่  13
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่  9  เมษายน 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น


ก่อนที่จะมีการเรียนการสอน

                ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบของอาทิตย์ที่ผ่านมาที่ละข้อมีการแลกเปลี่ยนข้อมมูลคำตอบของเพื่อนๆว่ามีใครตอบแบบไหนบ้างและอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการย่อยงานของเด็กพิเศษอย่างละเอียดในข้อสอบที่ได้ทำไปทำให้ทราบว่าเราพลาดไปหลายจุดเนื่องจากจุดที่พลาดนั้นเป็นจุดเล็กๆสำหรับเราเราจึงมองข้าม แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้นในทุกๆเรื่องสำคัญกับตัวเด็กมากคนเป็นครูจึงต้องดูแลเอาใจใส่เด็กในทุกๆอิริยาบท เรื่องไหนที่ต้องทำการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนครูก็ตวรจะคิดไตร่ตรองให้ดี

                นอกจากนี้อาจารย์ยังได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ไปฝึกร้องเพลงมา เพื่อสอบเก็บคะแนนในสับดาห์ถัดไปค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
 บรรยากาศในห้องเรียน


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้”  ( ช่วงความสนใจ อย่างเก่งก็ 1 นาที ) เด็กปกติ ก็ 10 นาทีโดยประมาณ
         - ถ้าเล่านิทานให้เด็พิเศษฟัง ควรให้เด็กนั้นได้มีส่วนร่วมในการเล่า เล่าให้น่าสนใจ และควรมีความยาวประมาน 5-6 หน้า แล้วเราค่อยๆ เพิ่มเติมระยะเวลาเรื่อย ๆ
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
จากการสนทนา
เมื่อเช้าหนูทานอะไร
แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู เพื่อน
เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การเปรียบเทียบ การจำแนก
การสังเกต
การวิเคราะห์

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก

อาจารย์มีตัวอย่างแบบกรรไกร ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมาให้ดู



การประเมินผล
          ตนเอง : วันนี้เข้าเรียนสายไป 30 นาที แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน แต่อาจจะมีคุยบ้างกับเพื่อนบ้างเวลา 
          เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องมีคุยบ้างนิดหน่อยค่ะแต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนค่ะ
          อาจารย์ : วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน คอยตักเตือนเด็กๆเวลาคุยกันเสียงดัง อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น