วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 8

บันทึกครั้งที่  8
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 5  มีนาคม 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



 ***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม






บันทึกครั้งที่ 7

บันทึกครั้งที่ 7
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 26  กุมภาพันธ์ 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น






***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค





บันทึกครั้งที่ 6

บันทึกครั้งที่ 6
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 19  กุมภาพันธ์ 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

***ความรู้ที่ได้รับ***
วันนี้มีการทบทวนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่เเล้วเพิ่มเติม   เเละจากนั้นอาจารย์มีเเบบทดสอบให้นักศึกษาผ่อนคลายมีความสุุขก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กเเต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นเเบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำเเผน IEP
การกระตุ้นการเรียนเเบบเเละการเอาอย่าง
-วางเเผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-เด็กปกติทำหน้าทีเหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆ เเละเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มเเละพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย การพูดนำของครู

                หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กพิเศษให้แก่เด็ก โดยจะเป็นการ จุดและเส้น ซึ่งร่วมกันทำกะเพื่อน จะมีคนนึงนั้นจุด และอีกคนนั้นลากเส้นให้มีจุดตัดเกินเป็นวงกลม ขณะที่ทำกิจกรรมนั้นต้องฟังเพลงไปด้วยแล้วจังหวะการวาดนั้นก็เป็นไปตามจังหวะเพลงด้วย




นี้คือผลงานของกลุ่มฉัน

ประเมินการเรียน

ประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ดูสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารักเหมือนทุกวัน ตั้งใจสอนนักเรียนอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานหัวเราะกันอย่างมีความสุข
ประเมินตัวเอง  ตั้งใจทำงานอาจมีบางครั้งที่คุยบ้าง

บันทึกถครั้งที่ 5

บันทึกครั้งที่ 5
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 12  กุมภาพันธ์ 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม

อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น


                 ***ความรู้ที่ได้รับ***


**การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
**ทักษะของครูและทัศนคติ
**การฝึกเพิ่มเติม
        อบรมระยะสั้น , สัมมนา
        สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
ค     ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
รู้      รู้จักเด็กแต่ละคน
        มองเด็กให้เป็น “เด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
ก     การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
การสอนโดยบังเอิญ
ใ     ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
   เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่  ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
   ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
   ครูต้องมีความสนใจเด็ก 
ค ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
ค ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
ค ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
ค ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
    ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
มีลักษณะง่ายๆ
ใ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
เ  เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
เ  เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
เ  เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
กิ กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
 เ เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
ก การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
ค คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ก การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
    ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
ค  ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
ใ ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
   สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
   สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
   วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
   สอนจากง่ายไปยาก



กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในวันนี้คือ
อาจารย์ให้วาดภาพมือและรายละเอียดของมือเราข้างที่ไม่ถนัด โดยขณะที่วาดนนั้น เราต้องสวมถุงมือไว้เพื่อไม่ให้ดูแบบ  เราต้องนึกให้ได้ว่ารายละเอียดเปนยังไง



จากกิจกรรมสรุปได้ว่า  มือเราอยู่ด้วยกับเรามาตารมจำนวนอายุของเราแต่เมื่อเราได้วาดรูปมือเราแล้ว เรายังไม่สามารถวาดให้มันตรงเหมือนจริงได้เลย เช่นเดียวกับการสนเด็กเมื่อเราสอนเด็ก 1 คน เขาก็จะอยู่กับเราตลอดเวลาเมื่อมีอะไรเราก้อควรบันทึก ณ ตอนนั้น เพราะถ้าหากบันทึกทีหลังเราก็อาจจะเก็บรายละเอียดไม่หมดก็ได้

หลังจากนั้นพวกเราทุกคนก็ได้มีการเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์ย้อนหลัง เห็นอาจารย์มีความสุขก็มีความสุขเหมือนกันค่ะ^^