วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 4

บันทึกครั้งที่ 4
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



           **วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปดอกไม้  โดยอาจารย์มีแบบให้ดู  ดอกนั้นก็คือ "ดอกหางนกยูง" และอาจารย์บอกว่าให้วาดให้เหมือนในรูปที่อาจารย์เอามาให้ดูด้วย  ซึ่งในความคิดดิฉันคิดว่ามันยากมากนะที่จะวาดออกมาให้เหมือนได้ 


นี้คือรูป "ดอกหางนกยูงของดิฉัน" เป็นยังไงกันบ้างค่ะ สวยไหมเอ่ย

                                                                                 ร่างด้วยดินสอ


                                                                             เมื่อลงสีแล้วสวยไหมค่ะ     

 จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษา เขียนบรรยายเกี่ยวกับรูปดอกไม้ที่ตัวเองวาดมา


 เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
            
           บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
 ***สิ่งที่ครูควรทำและไม่ควรทำในห้องเรียน
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-  การวินิจฉัย  คือ การตัดสินใจดูจากอาการไม่ใช่หน้าที่ครูแต่เป็นของแพทย์
- อาการที่แสดงออกมานั้นจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก (มันจะเป็นการตอกย้ำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นแบบนั้น)
จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อจะเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษทราบดีว่าลูกของเขานั้นมีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรบ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
- สังเกตและบันทึกอย่างเป็นระบบ  ไม่จำเป็นต้องบันทึกทั้งห้อง 
**การสังเกตอย่างมีระบบ  ครูอนุบาลทำได้ดีที่สุดเพราะใกล้ชิดกับเด็กมากและได้เป็นเวลานาน
- แบบสังเกต ( 20 ปี ) ใช้แค่บางคนที่น่าจะใช้
การตรวจสอบ  พฤติกรรมไหนไม่ได้ขัดขวางการเรียนรู้  และพฤติกรรมไหนที่เด็กทำแต่ครูยังทำอยู่ก็แสดงว่าพฤติกรรมไม่น่าเป็นห่วง
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
บันทึกการสังเกต ( เนื้อความนั้นสั้นๆ ตามความเป็นจริง ) เช่น
การนับ  คือ นับจำนวนครั้งของพฤติกรรม  กี่ครั้ง / ชม. / ว  และ นับเวลา
บันทึกต่อเนื่อง
- บันทึกไม่ต่อเนื่อง


คำถามท้ายบท


1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียรวม
ตอบ   สิ่่งที่ควรปฏิบัติ คือจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ เพราะครูอนุบาลทำได้ดีที่สุดแล้ว
          สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ คือครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  ครูไม่ควรตั้งฉยาให้กับเด็ก
2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบมีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร
ตอบ   - แบบสังเกต ใช้มา 20 กว่าปี
           - การตรรวจสอบ
           -  การบันทึกการสังเกต  เช่น  การนับ  การบันทึกต่อเนื่อง การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรและนำมาเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น  และสามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

            กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือการร้องเพลง ซึ่งอาจารย์ได้หัดให้นักศึกษาร้องเพลง "ฝึกกายบริหาร"  และให้ไปหัดร้องมาเป็นการบ้านด้วย


ประเมินการเรียนในวันนี้
ประเมินตนเอง
                ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดีและได้มีการจดบันทึกเนื้อหาที่เรียนไว้เพื่อได้นำมาทบทวนได้ในอนาคตและร่วมกันร้องเพลง ทำกิจกรรมวาดรูปในห้องอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันทุกคน  อาจจะมีคุยบ้างโดนอาจารย์ดุบ้าง   แต่เมื่ออาจารย์มอบหมายให้ทำกันในห้อง คือการวาดรูปดอกไม้เพื่อนทุกคนก็ได้แสดงฝีมือของตนเองอย่างเต็มที่ 
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์วันนี้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์สอนเรื่องการเรียนรวมได้อย่างละเอียดและเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการสอนที่สนุก มีเทคนิคที่สามารถอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจอย่างถ่องแท้ อาจารย์ได้ร้องเพลงโดยมีเครื่องเคาะจังหวะเป็นอุปกรณ์และทำให้เพลงที่ร้องนั้นเพราะยิ่งขึ้น


บันทึกครั้งที่ 2

บันทึกครั้งที่ 2
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 22 มคกราคม 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น


                *วันนี้ได้มีการเรียนการสอนรวมกับอีกห้องหนึ่งเนื่องจาก อาจารย์ได้ไปศึกษาดูงานที่เกษมพิทยามา และการเรียนในวันนี้อาจารย์ได้จัดห้องเรียนเป็นรูปตัว U เพราะนักศึกษาเยอะ และบางคนไม่มีที่นั่งเลยต้องนั่งเรียนบนพื้นห้อง
                *ได้มีการพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ และต่อมาอาจารย์ได้ปั้มใบปั้มแต่วันนี้ดิฉันลืมเอาใบปั้มมา เลยปั้มใส่กระดาษก่อน
                *อาจารย์ได้ร้องเพลงนม 2 รอบแล้วให้ร้องพร้อมกัน ละก็ได้ร้องเพลงอาบน้าม 

               เพลง  นม
นมเป็นอาหารดี  มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง  ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ  ร่างกายแข็งแรง

             เพลง  อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมั่ว  สุขกายสบายใจ

***และอาจารย์ได้ให้การบ้านทุกคนไปฝึกร้องเพลงมาให้ได้



                                                             ***ต่อมาอาจารย์ได้เข้าสู่เนื้อหาที่เรียน


EAED 3214  หมายความว่า  เราจะนำเอาเด็กพิเศษมาเรียนรวมกับห้องเรียนปกติ

**ลักษณะรูปแบบ**
              1. การศึกษาทั่วไป  ศึกษาเด็กทั่วไปโดยเกิดขึ้นมาตั้งแต่โบราณ  โดยถ้ามีเด็กพิเศษในสมัยนี้ก็จะถูกซุกซ่อนเอาไว้  เพราะอาย  แต่ต่อมารัฐบาลเห็นความสำคัญมากขึ้นจึงมี...
              2. การศึกษาพิเศษ (เด็กพิเศษเรียน) เช่น  ตาบอด  หูหนวก  ปัญญาอ่อนจะมีมูลนิธิต่างๆ โดยเฉพาะ เด็กเหล่านี้จึงไม่รู้สึกว่าตนเองแตกแยกไปจากคนอื่นและมักจะไม่คุ้นเคยที่จะไปอยู่ในสังคมภายนอก
              3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  แบ่งเป็น
                3.1 ประเภทแบบบางเวลา (บางช่วงของวัน)   
                ตอนมีกิจกรรมต่างๆ  เช่น  เคลื่อนไหวและจังหวะ  ศิลปะ
                ต้องคัดความเหมาะสมของเด็กแต่ละคนว่าจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมไหน
                - วิชาดนตรี เป็นวิชาที่เด็กพิเศษส่วนใหญ่ชอบ  รองลงมาคือการเต้น 
***อาการที่เด็กสามารถทำได้คือ อยู่ในช่วงระดับปานกลาง - มาก
              4.  การศึกษาแบบเรียนรวม  จะรับเด็กพิเศษเข้าตั้งแต่เริ่มต้นของการได้รับการศึกษากับเด็กปกติ
              5.  Wilson 2007  ได้ยึดปรัชญาของการอยู่ร่วมกันการสอนคือครูและเด็กต้องเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน  และจุดเล็กๆ ของสังคมเริ่มที่ห้องเรียน  เด็กปกติต้องยอมรับเด็กพิเศษ เด็กพิเศษก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเด็กปกติ  โดยผู้ปกครองก็จะต้องเข้าใจ
                                
                                      การอยู่ร่วมกัน (Inclusion)  จะนำไปสู่ การเรียนรวม (Inclusive ED)

               **การศึกษาแบบเรียนรวม  ความหมายที่ทุกประเทศใช้กัน คือ การศึกษาเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน  ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นของการศึกษา (ปฐมวัย) และต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล  เพราะเด็กปฐมวัยมีเซลล์สมองที่กำลังพัฒนาเพิ่มเรื่อย ๆ (0-7 ปี) 

ความสำคัญของการเรียนรวม
สอนได้
- มีสิทธิขีดจำกัดแบ่งแยกมากที่สุด
- สื่อที่เต็มห้องเรียนแต่เด็กไม่ได้เล่น
- ครูสอนเข้าใจไหม และครูมีการดูแลเด็กที่ทั่วถึงไหม

***หลังจากที่สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำใบงานเรื่องที่เรียนในวันนี้ส่งท้ายคาบ


ประเมินการเรียนในวันนี้

ประเมินตนเอง
                ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดีและได้มีการจดบันทึกเนื้อหาที่เรียนไว้เพื่อได้นำมาทบทวนได้ในอนาคต
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันทุกคน  อาจจะมีคุยบ้างโดนอาจารย์ดุบ้าง แต่เมื่ออาจารย์มีคำถามเพื่อนก็สามารถที่จะตอบคำถามได้
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์วันนี้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์สอนเรื่องการเรียนรวมได้อย่างละเอียดและเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการสอนที่สนุก มีเทคนิคที่สามารถอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจอย่างถ่องแท้


บันทึกครั้งที่ 3

บันทึกครั้งที่ 3
เรียน วัน พฤหัสบดี ที่ 29 มคกราคม 2558
การจัดประสบการณ์การเรียนร่วม
อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น



***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน***


หมายเหตุ  เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดธุระต้องไปสัมมนาวิชาการบริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา จึงให้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง